คุ้มหรือไม่-กำจัดไรขี้เรื้อน…แล้วต้องสูญเสียภูมิคุ้มกันโรค

คุ้มหรือไม่-กำจัดไรขี้เรื้อน…แล้วต้องสูญเสียภูมิคุ้มกันโรค

ไรขี้เรื้อนสุกร (Swine mange)  รู้จักกันดีว่าเป็นโรคที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมากในฟาร์มสุกรถึงแม้จะไม่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้สุกรตายเหมือนโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส แต่ก็ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ ในระบบการเลี้ยงสุกรเป็นมูลค่าไม่น้อย อาทิเช่น ลดการกินได้โดยเฉพาะในสุกรขุนแลแม่เลี้ยงลูก, ลดประสิทธิภาพการใช้อาหาร FCR  เพิ่มขึ้น 10%, ลดปริมาณการสร้างน้ำนมในแม่สุกร (Schultz, 1986)  ลดการเจริญเติบโตในสุกรรุ่นถึง 19% ในระบบการเลี้ยงแบบจำกัดอาหาร (Martelli and Beghiam,1990) ADG ลดลง 7% ในระบบการเลี้ยงแบบให้เต็มที่ (Arendetall,1990) ลดคุณภาพซาก (Dobson and Davis, 1992) นอกจากนั้นยังมีผลทางอ้อมในการลดอายุการใช้งานของกรงอีกด้วย   ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโรคไรขี้เรื้อนสุกรเป็นภัยที่แฝงอยู่ในฟาร์มที่คอยบั่นทอนผลกำไรในการเลี้ยงสุกรเป็นอย่างยิ่ง

ปัญหามีไว้ให้แก้….. เป็นที่ทราบกันดีว่าในฟาร์มสุกรจำเป็นจะต้องมีมาตรการในการกำจัดไรขี้เรื้อนอย่างจริงจัง  ซึ่งก็มีหลายทางเลือกที่สามารถทำได้ เช่นการใช้ยาฉีด,การผสมยาในอาหาร  และการพ่นยาที่ตัวสุกรโดยตรง  เป็นต้นในแต่ละทางเลือกก็มีข้อดีข้อด้อยต่างกันออกไป

ทางเลือกใน
การกำจัดไรขี้เรื้อน
ข้อดี ข้อด้อย
ยาฉีด - สะดวก
- สุกรได้รับยาแน่นอน
- กำจัดได้เฉพาะบนตัวสุกรและอาจไม่ทั่วถึง
- สุกรเครียดจากการฉีดยา
- ต้นทุนต่อตัวสูง
ยาผสมอาหาร - สะดวก
- สุกรไม่เครียด
- กำจัดได้เฉพาะบนตัวสุกรและอาจไม่ทั่วถึง
- สุกรที่ไม่กินอาหารอาจไม่ได้รับยา
- ต้นทุนต่อตัวสูง
ยาพ่น - กำจัดไรขี้เรื้อนได้ทั้งบน ตัวสุกรและบนบริเวณครอก
- ต้นทุนต่อแม่ต่อปีต่ำ
- ระคายเคืองสูง แสบ กลิ่นเหม็น สุกรเครียด ซึม ภูมิคุ้มกันโรคตก
- เสี่ยงต่อการเกิดการแท้งลูก
- การกลับมาของไรขี้เรื้อนเร็ว ต้องพ่นบ่อยๆ เปลืองแรงงาน
- ต้องปิดน้ำและเก็บอาหารตอนพ่น
ยกเว้น  ยาที่มีความปลอดภัยทั้งสื่อและสารออกฤทธิ์

ผลิตภัณฑ์ต้องดีพอ…..  นอกจากวิธีในการกำจัดแล้วตัวผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆโดยเฉพาะการพ่นยาบนตัวสุกรเพราะปกติตัวไรขี้เรื้อนจะอาศัยอยู่ใต้ผิวหนังของสุกร  ดังนั้นการกำจัดตัวไรขี้เรื้อนก็จำเป็นที่จะต้องพ่นยาลงบนตัวสัตว์อย่างทั่วถึงโดยเฉพาะบริเวณหน้าและหูซึ่งเป็นบริเวณที่ตัวไรอาศัยอยู่มาก สิ่งสำคัญที่สุดคือต้อง ปลอดภัยและได้ผลจริง  ปัจจุบันผลิตภัณฑ์กำจัดไรขี้เรื้อนสุกรประเภทผสมน้ำแล้วพ่นใส่ตัวสุกรมีมากมายหลายชนิดให้เลือก  สิ่งที่ผู้ใช้ควรพิจารณามีด้วยกัน 3 ประเด็นหลัก  คือ

ตารางเปรียบเทียบค่าความปลอดภัย (LD50)

สารเคมี ค่าความปลอดภัย (LD50)
อะมิทราส 800
ไดอะซีนอน 85-135
ไซเปอร์เมธริน C79-C250
ดีดีที 113
อีโทเฟนพร๊อกซ์ 42,800  (>10,000 ; IPCS)
เกลือ 3,000
สื่อ (Solvent) ผลกระทบเมื่อสัตว์สัมผัส
ไซลีน (EC) ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ตา จมูกและคอ หายใจลำบาก ท้องไส้ปั่นป่วน ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน เวียนหัว มึนงง เกิดการเปลี่ยนแปลงในตับ มีผลเสียต่อไต ปอด หัวใจ และระบบประสาท

ถ้าสัตว์อุ้มท้องสัมผัสกับ ไซลีนในระดับสูง อาจก่อให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างกระดูกของตัวอ่อน และ อาจเกิดการแท้งเพิ่มมากขึ้น

ข้อมูลจาก Toxicological Profile for Xylene August 1995 Update Agency for Toxic Substance and Disease Registry United States Public Health Service.

http://www.eco-usa.net/toxics/xylene.shtml
น้ำ
Emulsified Oil in Water(EW)
ไม่มีผลในทางลบ

เปรียบเทียบการละลายเมื่อเทลงน้ำ(โดยไม่ต้องคน)ของสินค้าที่บอกว่าสูตรน้ำเหมือนกัน

คุ้มหรือไม่ ? หากกำจัดไรขี้เรื้อน…..แต่ต้องสูญเสียภูมิคุ้มกันโรค อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่าผลิตภัณฑ์กำจัดไรขี้เรื้อนที่ดีนั้นต้องใช้แล้ว ปลอดภัยและได้ผลจริง  ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึง 3 ประเด็นหลักที่กล่าวมาไม่เช่นนั้น การกำจัดไรขี้เรื้อนสุกรแต่ละครั้ง อาจเป็นการทำลายภูมิคุ้มกันโรคของสุกร ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางฟาร์มลงทุนอย่างมากที่จะทำให้สุกรมีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ก็เป็นได้

ผลิตภัณฑ์ ผลการรักษาไรขี้เรื้อน ผลกระทบต่อตัวสุกร
- สารออกฤทธิ์ไม่ปลอดภัย
- สื่อหรือตัวทำละลายไม่ปลอดภัย
- สูตรหรือเทคโนโลยีการผลิตดี
- ได้ผล - แสบเหม็น ระคายเคือง
- สุกรเครียด
- มีการแท้งลูก
- ภูมิคุ้มกันโรคตก
- สารออกฤทธิ์ปลอดภัย
- สื่อหรือตัวทำละลายไม่ปลอดภัย
- สูตรหรือเทคโนโลยีการผลิตดี
- ได้ผล - แสบเหม็น ระคายเคือง
- สุกรเครียด
- มีการแท้งลูก
- ภูมิคุ้มกันโรคตก
- สารออกฤทธิ์ปลอดภัย
- สื่อหรือตัวทำละลายปลอดภัย
- สูตรหรือเทคโนโลยีการผลิตไม่ดี
- ไม่ได้ผล - ไม่มีผลกระทบ
- สารออกฤทธิ์ปลอดภัย
- สื่อหรือตัวทำละลายปลอดภัย
- สูตรหรือเทคโนโลยีการผลิตดี
- ได้ผล - ไม่มีผลกระทบ

พ่นได้ พ่นได้……..ถามหมูหรือยัง ? สุกรก็คงไม่ต่างอะไรกับคนเราที่หากสัมผัสสารที่ไม่ปลอดภัยก็คงส่งผลให้เกิดความเครียด  ไม่สบายตัวและมีผลต่อภูมิคุ้มกันโรคเช่นเดียวกับคน  เพียงแต่สุกรเค้าพูดไม่ได้เท่านั้น ดังนั้นการที่จะทราบได้ว่าผลิตภัณฑ์ใดปลอดภัยมากพอที่จะพ่นใส่ตัวสุกรได้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี ผลงานวิจัยที่บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นพ่นใส่ตัวสุกรแล้วสุกรไม่เกิดความเครียด   ไม่ใช่เพียงแค่คนขายบอกว่าปลอดภัยพ่นได้เท่านั้น  อาจจะดูเป็นตลกร้ายที่ว่า  หากคนขายบอกว่ายาตัวเองปลอดภัยพ่นใส่ตัวสุกรได้คนซื้อน่าจะถามกลับไปว่า  ถ้าปลอดภัย…..แล้วคนขายกล้าพ่นใส่ตัวเองและทิ้งไว้เหมือนกับที่พ่นหมูหรือไม่ ? …………….เพราะหมูกับคนคงได้รับผลไม่ต่างกัน!!!